Maybe you mean: 'home-slider-4' or 'test'
Duis autem vel eum iriure dolor in hendrerit in vulputate velit esse molestie consequat, vel illum dolore eu feugiat nulla facilisis at vero eros et accumsan et iusto odio dignissim qui
Savon Stories

Typi non habent claritatem insitam, est usus legentis in iis qui facit eorum claritatem. Investigationes demonstraverunt lectores legere me lius quod ii legunt saepius.
Shop Now
ORGANIC SAVON STORIES
We believe that healthy eating, clean air, and gentle character is the best start to genuine wellbeing.
Organic new arrivals
Organic bestseller
Organic sale products
Praew P. Customer Review https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10214203534946809&set=p.10214203534946809&type=1&theaterยาสีฟันแบบเคี้ยว ลดขยะพลาสติกของยาสีฟันแบบห
ลอด ปากสดชื่นมาก อร่อยกรุบๆ น่ากลืนลงไปเลย
3Wheels 3 Wheels Uncle https://www.facebook.com/3WheelsUncle/photos/a.221430681939045/419200895495355/?type=3&theaterลุงทดลองใช้ก็พบว
่า เม็ดยาสีฟันละลายเร็วกว่าที ่คิด รสชาติดีเหมือนยาสีฟันทั่วไ ป แต่ฟองแอบน้อยไปหน่อยในความ คิดลุง (แต่บางรีวิวบอกว่าฟองเยอะไ ป) น้องๆ บอกว่า Cheww จริงจังกับการลดขยะ โดยใช้โมเดลการขายแบบสมัครส มาชิก ซึ่งจะส่งยาสีฟันเม็ดแบบเติ มให้ทุกๆ 1-3 เดือน แบบไม่ต้องกลัวหมด ไม่ต้องไปหาซื้อเอง และไม่เปลืองบรรจุภัณฑ์ สินค้าที่ได้ก็จะสดใหม่เสมอ
Guru Magazine Editor: ERIC E SURBANO https://www.bangkokpost.com/lifestyle/social-and-lifestyle/1645020/lend-a-handLiving a sustainable lifestyle doesn’t necessarily mean you have to make drastic changes right away so maybe stop chucking out all your Tupperware. You can start off with little easy changes and ease
Organic from our blog
ลดรอยเท้าจากปาล์มน้ำมัน ด้วยการผลิตและบริโภคอย่างรับผิดชอบ
หากเอ่ยถึง ‘น้ำมันปาล์ม’ เชื่อว่าหลายคนคงคุ้นหูอยู่บ้าง เพราะเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์มากมายหลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเรา กว่าครึ่งของอาหารที่วางขายในซุปเปอร์มาร์เก็ตต่างก็มีส่วนประกอบของน้ำมันปาล์มที่นอกจากจะถูกนำมาใช้ในการผลิตภัณฑ์อาหาร ขนมขบเคี้ยว รวมถึงไอศกรีมที่เราชื่นชอบแล้ว น้ำมันปาล์มยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในผลิตภัณฑ์ที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น สบู่ แชมพู น้ำยาทำความสะอาด และลิปสติก จนกล่าวได้ว่าน้ำมันปาล์มเป็นน้ำมันพืชที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกก็ว่าได้
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา น้ำมันปาล์มเป็นหนึ่งในวัตถุดิบที่เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างมากว่าเป็นภัยคุมคามต่อป่าฝนเขตร้อนที่มีความหลากหลายทางชีวภาพที่สมบูรณ์ทั้งพืชและสัตว์โดยเฉพาะประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย ป่าฝนในบริเวณนี้ทำหน้าที่กักเก็บก๊าซเรือนกระจกไว้ในดิน และยังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์หายากหลายชนิด เช่น อุรังอุตัง แรด เสือโคร่ง และช้าง การทำลายป่าเพื่อปลูกปาล์มน้ำมันนอกจากซ้ำเติมภาวะโลกร้อนแล้วยังเป็นภัยคุกคามต่อระบบนิเวศที่ประเมินค่าไม่ได้ นอกจากนี้การเผาป่าพรุเพื่อนำที่ดินไปปลูกปาล์มน้ำมันยังเป็นที่มาของปัญหาหมอกควันในภูมิภาคและปรากฎเป็นข้อพิพาทกับสิงคโปร์อีกด้วย ด้วยเหตุนี้ การถางป่าเพื่อปลูกต้นปาล์ม ทำให้เกิดกระแสต่อต้านและการรณรงค์ให้เลิกใช้น้ำมันปาล์มขึ้นอย่างแพร่หลาย
แน่นอนว่า เมื่อประชากรและความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น ความต้องการน้ำมันปาล์มก็เพิ่มขึ้นไปด้วย คำถามคือ…เพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเราจำเป็นต้องเลิกบริโภคน้ำมันปาล์มเลยหรือ ‘เป็นไปได้’ หรือไม่ที่เราจะผลิตและบริโภคน้ำมันปาล์มควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
RSPO มาตรฐานปาล์มน้ำมันยั่งยืน
ปัจจุบัน เรามีมาตรฐานรับรองน้ำมันปาล์มที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ ไม่บุกรุกหรือทำลายผืนป่า พื้นที่เพาะปลูกปาล์มที่ผ่านการรับรองมาตรฐานขององค์กรเจรจาระหว่างประเทศด้านปาล์มน้ำมันยั่งยืน หรือ Roundtable on Sustainable Palm Oil (RSPO) เป็นตราประทับยืนยันว่าน้ำมันปาล์มนั้นไม่รบกวนระบบนิเวศที่เปราะบางหรือป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญ (เช่น ป่าที่เป็นที่อยู่อาศัยของชนิดพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์) ปลูกในที่ดินมีเอกสารสิทธิรับรอง นอกจากนี้ เกณฑ์การพิจารณาของ RSPO ยังกำหนดให้เกษตรกรเจ้าของสวนปาล์มจะต้องดำเนินมาตรการเพื่อปกป้องแหล่งน้ำ ดิน และสภาพแวดล้อม ใช้สารเคมีในปริมาณที่เหมาะสมและห้ามการเผาไม่ว่าจะกรณีใดก็ตาม มิติด้านสังคมรวมถึงประเด็นสิทธิมนุษยชนก็อยู่ในข้อกำหนดของ RSPO เช่นกัน โดยสวนปาล์มจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานอย่างเคร่งครัด ปราศจากการใช้แรงงานเด็ก ต้องได้รับความยินยอมจากชุมชนท้องถิ่น โดยชุมชนท้องถิ่นจะยังมีอิสระและได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างครบถ้วนด้วย โดยหลักการ 8 ประการของมาตรฐาน RSPO ได้แก่ 1.ความโปร่งใส, 2.ทำตามกฎหมายและระเบียบ, 3.สร้างความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจในระยะยาว, 4.ทำตามวิธีการดูแลรักษาปาล์มน้ำมันที่ดี, 5.ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม, 6.รับผิดชอบต่อลูกจ้างและชุมชน, 7.ปลูกปาล์มใหม่อย่างมีความรับผิดชอบ, 8
ภารกิจฟื้นฟูมหาสมุทรของแหล่งเรียนรู้เรือหลวงไทย
ตัวอย่างการฟื้นฟูและปกป้องระบบนิเวศทางทะเลด้วยการสร้างแหล่งดำน้ำใหม่ในโครงการแหล่งเรียนรู้เรือหลวงไทยใต้ทะเล เป็นความสำเร็จอันเกิดจากความร่วมมือของหลายภาคส่วนที่พิสูจน์แล้วว่า ช่วยปกป้องแนวปะการังธรรมชาติ เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ สร้างรายได้ให้การท่องเที่ยวในจังหวัดชุมพรและสุราษฏร์ธานี ผ่านนักท่องเที่ยวและนักดำน้ำปีละเกือบ 3 หมื่นคน สร้างรายได้ปีละเกือบ 60 ล้านบาท และลดการสัมผัสปะการังได้ถึง 16 ล้านครั้ง แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แห่งนี้เป็นอีกหนึ่งบทพิสูจน์ที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามของมนุษย์ในการกอบกู้ฟื้นคืนความอุดมสมบูรณ์ให้กับมหาสมุทรได้อย่างเป็นรูปธรรม
การฟื้นฟูระบบนิเวศด้วยการสร้างแหล่งดำน้ำโดยมนุษย์
มหาสมุทรครอบคลุมพื้นที่ผิวของโลกราวร้อยละ 70 และกักเก็บน้ำมากถึงร้อยละ 96.5 ของโลก จึงไม่น่าแปลกใจที่มหาสมุทรคือกลไกควบคุมสมดุลของสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศที่ค้ำจุนชีวิตบนโลกอย่างแท้จริง ผ่านวัฏจักรของน้ำ กระแสคลื่นลมที่ไหลเวียนไปทั่วโลก รวมทั้งสิ่งมีชีวิตที่ทำหน้าที่เหมือนปั๊มน้ำชีวภาพขนาดยักษ์อย่างวาฬ และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กจิ๋วอย่างแพลงก์ตอนพืชที่ทำให้มหาสมุทรเป็นแหล่งผลิตออกซิเจนราวครึ่งหนึ่งของอากาศที่เราทุกคนหายใจ ช่วยดูดซับความร้อนกว่าร้อยละ 90 เนื่องจากก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมมนุษย์ และยังกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ราว 1 ใน 4 ที่ถูกปล่อยออกมาทุกๆ ปี
ทว่าระบบนิเวศทางทะเลกำลังถูกคุกคามอย่างหนัก ทั้งจากการประมงเกินขนาด ขยะพลาสติกจำนวนมหาศาล มลภาวะและน้ำเสียจากชายฝั่ง รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทำให้เกิดคลื่นความร้อนใต้น้ำ จนเกิดเหตุการณ์ปะการังฟอกขาวครั้งใหญ่บ่อยครั้งทั่วโลก ในประเทศไทยปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวครั้งใหญ่เมื่อปี พ.ศ.2553 ได้ทำให้เกิดความเสียหายอย่างหนักต่อแนวปะการังทั่วประเทศ ความเสื่อมโทรมของปะการังส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ทั้งในเชิงระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงเศรษฐกิจและสังคม เช่น การปิดพื้นที่ไม่ให้มีกิจกรรมท่องเที่ยวเพื่อเปิดโอกาสให้แนวปะการังฟื้นตัว ย่อมกระทบต่อรายได้ของผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวและคนในท้องถิ่นจำนวนมาก
หนึ่งในการจัดการเพื่อช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศในภาวะวิกฤติคือการสร้างแหล่งดำน้ำโดยมนุษย์ (Man-made Dive Sites) เพื่อช่วยลดแรงกดดันในการใช้ประโยชน์แนวปะการังธรรมชาติ เปิดโอกาสให้ธรรมชาติได้มีการฟื้นตัวได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพให้กับแหล่งดำน้ำแห่งใหม่ด้วยโครงสร้างสามมิติ เป็นแหล่งอาศัยที่ปลอดภัยของสัตว์น้ำ
ร่วมกันสร้างความยั่งยืนของท้องทะเล
ปตท.สผ. ผู้ดำเนินธุรกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในทะเลไทย จึงช่วยผลักดันให้แนวคิดดังกล่าวเป็นจริง โดยนำเรือรบหลวงที่ปลดประจำการแล้วมาจัดทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวใต้ทะเล ในจังหวัดชุมพรและจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงด้านการท่องเที่ยว ภายใต้โครงการแหล่งเรียนรู้เรือหลวงไทยใต้ทะเล โดยร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ กองทัพเรือ จังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตัวแทนผู้ประกอบการและชุมชนในพื้นที่ และภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เรือหลวงปราบ และเรือหลวงสัตกูด เกียรติภูมิเรือรบหลวงไทย
ภารกิจครั้งนี้ ปตท.สผ. ได้รับการสนับสนุนเรือรบหลวง 2 ลำ จากกองทัพเรือ คือ เรือหลวงปราบ และ เรือหลวงสัตกูด ซึ่งทั้งสองลำเป็นเรือยกพลขึ้นบกขนาดเล็ก (Landing Craft Infantry) มีความยาวเกือบ 50
CO2 – Climate Change – Catastrophe เมื่อคาร์บอนฯ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจนไปสู่จุดหายนะของท้องทะเลไทย
เมื่อ ‘ทะเลไทย’ อาจกลายเป็น ‘ออนเซ็น’ ขนาดใหญ่ที่มีอุณหภูมิสูงถึง 38 องศาเซลเซียส! ชวนรู้ความสัมพันธ์ที่เกี่ยวโยงกันระหว่างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ภาวะโลกร้อน และปรากฏการณ์ Marine Heat Wave ที่เกิดขึ้นแล้วกับทะเลไทย และผลของมันโหดร้ายกว่าที่คิด
ลึกลงไปใต้ท้องทะเล คลื่นน้ำกำลังเคลื่อนไหวแทรกผ่านร่างช่างภาพหนุ่ม ซึ่งกำลังตั้งใจจดจ่ออยู่กับการลั่นปุ่มชัตเตอร์ของกล้องในมือในจังหวะที่ดีที่สุด เพื่อให้ได้ภาพถ่ายใต้ทะเลที่สะท้อนเรื่องราวของปัญหา ‘ปะการังฟอกขาว’ ซึ่งเป็นผลจากภาวะโลกร้อนออกมาให้ได้ชัดเจนและครบถ้วนที่สุด
ชิน – ศิรชัย อรุณรักษ์ติชัย ช่างภาพสารคดีด้านสิ่งแวดล้อม ที่ทำงานด้านนี้มานานกว่า 14 ปี ทำให้เขาเป็นหนึ่งในผู้สังเกตการณ์ ‘ท้องทะเลไทย’ ที่สามารถบอกเล่าเรื่องปัญหาสภาวะโลกร้อนใต้ทะเลอย่างตรงไปตรงมาและเชื่อถือได้ที่สุดคนหนึ่ง
ชินเล่าว่าเขาผูกพันกับทะเลมาตั้งแต่เด็ก ที่บ้านจะมีหนังสือเกี่ยวกับทะเลเยอะ จึงโตมากับภาพทะเลจากหนังสือเหล่านั้น อีกทั้งครอบครัวชอบพาเขาไปเที่ยวทะเลบ่อยๆ ยิ่งได้ลองดำน้ำชมโลกใต้น้ำ เห็นความตระการตาของโลกอีกใบ ก็ยิ่งทำให้หนุ่มคนนี้หลงรักทะเลไทยมากขึ้นไปอีก และกลายเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อเขาจนถึงทุกวันนี้ แต่ทะเลที่เขาเคยชื่นชมความงามในวัยเด็ก กลับแตกต่างจากทะเลในวันที่เขาโตเป็นผู้ใหญ่อย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะเมื่อย้อนกลับไปในปี 2010 เหตุการณ์ที่รบกวนจิตใจคนรักทะเลอย่างเขา คงหนีไม่พ้นปัญหาปะการังฟอกขาวในครั้งนั้น
“มันเป็นเหตุการณ์ปะการังฟอกขาวครั้งใหญ่ ส่งผลกระทบต่อทะเลแถบเอเชียแปซิฟิกหนักมาก เนื่องจากปะการัง เป็นสัตว์ที่ต้องพึ่งพาอาศัยสาหร่ายชนิดหนึ่ง โดยสาหร่ายจะให้พลังงานและสร้างสีสันต่างๆ ให้ปะการัง ส่วนปะการังก็ให้แร่ธาตุที่จำเป็นแก่สาหร่าย แต่ช่วงนั้นอากาศร้อนติดต่อกันนานมาก พออุณหภูมิของน้ำทะเลสูงขึ้น ก็ทำให้สาหร่ายอยู่ไม่ได้และหลุดออกมาจากตัวปะการังเพื่อหาที่อยู่อื่น ทำให้ปะการังกลายเป็นสีขาวและตายไปในที่สุด” ชินเล่าสะท้อนภาพ ที่เขาเห็นมากับตาให้เราฟัง
คาร์บอนไดออกไซด์เร่ง “ภาวะโลกร้อน” ที่กำลังทำลายโลกใต้ทะเล
แน่นอนว่าเหตุการณ์นี้มีผู้ร้ายที่ต้องโทษก็คือ “ภาวะโลกร้อน” หลายคนอาจคิดว่าอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น ส่งผลกระทบแค่สิ่งแวดล้อมบนบกเท่านั้น แต่รู้หรือไม่? ผลจากภาวะโลกร้อนก็ส่งต่อความโหดร้ายไปยังโลกใต้ทะเลด้วย และสิ่งที่ถือเป็นปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนก็คือ “ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์”
อย่างที่หลายคนทราบกันดีว่า ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกี่ยวข้องกับปัญหาโลกร้อนโดยตรง แต่ทำไมมันถึงทำให้โลกของเราร้อนขึ้นได้ล่ะ? แล้วก๊าซเหล่านี้มาจากไหน? เรื่องนี้ ช่างภาพใต้น้ำผู้ซึ่งคลุกคลีอยู่กับประเด็น Climate Change มายาวนาน อธิบายว่า ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถูกปล่อยมาจากการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์ในทุกๆ กิจกรรม คุณสมบัติของมันคือเป็นก๊าซที่ดูดซับความร้อนได้เยอะมาก เมื่อก๊าซชนิดนี้ไปสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศก็ทำให้ความร้อนถูกดึงไปสะสมไว้บนชั้นบรรยากาศด้วย จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน อย่างที่เราประสบพบเจอกันอยู่ทุกวันนี้
“ตอนนี้ก๊าซคาร์บอนฯ สะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศปริมาณมหาศาลมาก และมันใกล้จะถึงจุดที่ระบบต่างๆ บนโลกจะรับความร้อนนั้นต่อไปไม่ไหวแล้ว อุณหภูมิโลกจะยิ่งทวีความร้อนมากขึ้นไปกว่านี้อีก ซึ่งไม่ใช่แค่ส่งผลกระทบต่อโลกบนบก แต่ยังส่งผลกระทบต่อโลกใต้น้ำด้วย ไม่ว่าจะเป็นการไหลเวียนกระแสน้ำในมหาสมุทรที่ผิดเพี้ยนแปรปรวนอย่างมาก จนกระทบต่อระบบนิเวศน์ใต้ทะเล รวมไปถึงภาวะที่น้ำทะเลกลายสภาพเป็นกรด เนื่องจากดูดซับเอาคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นในบรรยากาศ เมื่อน้ำทะเลเป็นกรดก็จะกัดกร่อนปะการัง และทำให้สัตว์เปลือกแข็งต่างๆ ไม่สามารถสร้างกระดองของพวกมันได้ อัตราการตายของสัตว์ทะเลจะเพิ่มขึ้น” เขาย้ำให้เห็นถึงความรุนแรงของภาวะโลกร้อนที่ส่งผลต่อโลกใต้ทะเล
ปัญหาโลกร้อนเกิดขึ้นแล้ว และอาจหยุดไม่ได้!
เรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาเล็กๆ ที่จะมัวรอช้าโดยไม่ทำอะไรได้อีกแล้ว ยืนยันอีกเสียงจาก ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลชั้นแนวหน้าของไทย ให้ข้อมูลว่านักวิทยาศาสตร์มีข้อบ่งชี้หลายอย่างที่ระบุว่า ทะเลของโลกเรา (ไม่ใช่เฉพาะในไทย) จะทรุดโทรมลงกลายเป็นทะเลที่โศกเศร้า จนถึงขณะนี้ บางคนก็ยังไม่ตระหนักว่าการขาดความรับผิดชอบเล็กๆ น้อยๆ นั้น เมื่อรวมกันทั้งโลกมันกลายเป็นผลกระทบที่ยิ่งใหญ่
“คนเราไม่ได้เริ่มปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นี้เมื่อ 5 ปีก่อน แต่เริ่มปล่อยกันมาตั้งแต่ ค.ศ. 1850 ในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม เราพูดถึงมันในแง่ของวิวัฒนาการที่ก้าวหน้า เพิ่มความสะดวกสบายให้มนุษย์ จริงอยู่ว่าวิทยาการเหล่านั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องมองให้ครบสองด้าน เพราะอีกด้านหนึ่งวิทยาการเหล่านี้ คือตัวการผลิตก๊าซเรือนกระจกและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขนาดใหญ่ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาโลกร้อน”
“เชื่อหรือไม่ ณ วันนี้โลกของเราปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ปริมาณมากถึง 40 กิกะตัน หรือ 40,000 ล้านตันต่อปี ส่งผลให้วันนี้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น 1.1 – 1.2 องศาเซียลเซียส เมื่อเทียบกับเมื่อร้อยกว่าปีก่อน และกำลังจะสูงขึ้นอีก 1.5
นวัตกรรมความยั่งยืนของเอปสัน: จากการเป็นผู้บุกเบิกเลิกใช้สาร CFC สู่เทคโนโลยีการพิมพ์ไร้ความร้อน
นวัตกรรมความยั่งยืนของเอปสัน:
จากการเป็นผู้บุกเบิกเลิกใช้สาร CFC สู่เทคโนโลยีการพิมพ์ไร้ความร้อน
ประหยัดไฟฟ้าและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึง 85% จนกลายเป็นหนึ่งในองค์กรชั้นนำด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
เมื่อผู้บริโภคเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมควบคู่กับคุณภาพและราคาสินค้า ขณะที่ประชาคมโลกเองก็เรียกร้องให้ภาคธุรกิจแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น เราจึงเห็นบริษัทหลายแห่งนำแนวทางความยั่งยืนมาเป็นหัวใจในการขับเคลื่อนธุรกิจของตนเอง
เอปสันผู้ผลิตเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์และโปรเจคเตอร์อันดับหนึ่งของโลกจากญี่ปุ่น เป็นอีกหนึ่งบริษัทชั้นนำที่ให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการดำเนินธุรกิจนับตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งบริษัทในทศวรรษ 1940
เอปสัน เริ่มต้นจากการเป็นโรงงานผลิตนาฬิกาข้อมือ ก่อนจะขยายธุรกิจไปยังหลากหลายสายเทคโนโลยีและมีสำนักงานสาขากระจายอยู่ทั่วโลกเหมือนทุกวันนี้ ตลอดระยะเวลากว่า 80 ปี เอปสันเติบโตไปพร้อมๆ กับนโยบายด้านความยั่งยืนที่เข้มข้นขึ้น โดยเริ่มต้นจากความพยายามรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมรอบทะเลสาบซูวะ ในจังหวัดนากาโน่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัทฯ ให้สะอาดและมีนิเวศที่สมบูรณ์ ก่อนจะเติบโตขึ้นและกลายเป็นบริษัทแรกของโลกที่ประกาศว่าจะกำจัดสารซีเอฟซีที่ทำลายชั้นโอโซนออกจากกระบวนการผลิตทั้งหมด ซึ่งบริษัทฯ ประสบความสำเร็จในปี 1993
ในปี 2004 Epson ได้เข้าร่วมข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact) และได้ประกาศให้การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ขององค์การสหประชาชาติ ปัจจุบัน เอปสันยังคงพัฒนานวัตกรรมมากมายที่สามารถเปลี่ยนชีวิตของผู้คนและสร้างโลกให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น
นายซิ่ว จิน เกียด ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายการตลาดประจำภูมิภาค เอปสัน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “ตลอดหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ผู้คนหันมานิยมบริโภคสินค้าจากบริษัทผู้ผลิตที่ยึดถือหลักความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ ในขณะที่หลายบริษัทในระดับโลกต่างเริ่มหันมาให้ความสำคัญเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และมุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ดังนั้นการดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องกับความยั่งยืนจึงกลายเป็นจุดเด่นหนึ่งขององค์กรธุรกิจที่ได้รับการยอมรับนับถือในระดับโลก”
“ในขณะที่ผู้บริโภคก็เต็มใจที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะคนกลุ่ม Millennial และ GenZ ที่ไม่ได้มองราคาเป็นปัจจัยในการเลือกซื้อสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่ยังมองถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมรวมถึงการมีส่วนในการตอบแทนสังคม การที่ผู้ผลิตสามารถแสดงออกถึงบทบาทของบริษัทในการรักษาสิ่งแวดล้อมถือเป็นความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันทางธุรกิจ ที่ไม่เพียงแต่จะรักษาพนักงานไว้กับองค์กร แต่ยังช่วยปกป้องบริษัทจากประเด็นสังคมต่างๆ เพิ่มความน่าเชื่อถือในสังคม ทั้งยังทำให้ผู้บริโภคนิยมซื้อสินค้าและบริการของบริษัทนั้นอย่างต่อเนื่องอีกด้วย”
ล่าสุดเอปสันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดตัวแคมเปญ “Be Cool” เพื่อสื่อสารถึงเทคโนโลยี Heat-Free
แก้ปัญหาถุงพลาสติกล้นโลกด้วยเงิน 2 บาท
งานวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร Science เมื่อปีแล้วระบุว่าทุกปีมีขยะพลาสติกเกิดขึ้นราว 275 ล้านตันและไหลลงสู่ทะเลมากถึง 8 ล้านตัน ขยะเหล่านี้ย่อยสลายยากและหมุนเวียนอยู่ในทะเลหลายร้อยปี
นักวิทยาศาสตร์พบว่ามีนกทะเลกว่าร้อยชนิดและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลกว่า 30 ชนิดกินพลาสติกจนเป็นอันตรายถึงชีวิต โครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ (UNEP) ประเมินว่าแต่ละปี ขยะพลาสติกสร้างความเสียหายให้กับระบบนิเวศทางทะเลทั่วโลกถึงปีละ 2.8 แสนล้านบาท
การแก้ปัญหาขยะพลาสติกจึงกลายเป็นวาระระดับโลก UNEP เองก็เพิ่งเปิดตัวการรณรงค์เพื่อแก้ปัญหาขยะพลาสติก #CleanSeas ที่งาน World Ocean Summit ซึ่งจัดขึ้นที่บาหลีเมื่อวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยตั้งเป้าไปที่การกำจัดถุงพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวและไมโครพลาสติกในเครื่องสำอางค์ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของขยะพลาสติกในทะเลภายในปี 2022
วิธีลดปริมาณถุงพลาสติกที่พิสูจน์แล้วว่าได้ผลที่สุดคือการบังคับเก็บเงินค่าถุงพลาสติก ซึ่งสามารถนำเงินมาตั้งเป็นกองทุนสนับสนุนงานอนุรักษ์ได้อีกด้วย อังกฤษเป็นประเทศล่าสุดที่นำเอาระบบเก็บภาษีถุงพลาสติกมาใช้ โดยกำหนดให้มีการเก็บเงิน 5 เพนนีหรือประมาณ 2 บาทต่อถุง
เพียง 6 เดือนหลังจากที่นำระบบนี้มาบังคับใช้ในห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ ผลปรากฎว่าจำนวนการใช้ถุงพลาสติกลดลงถึง 83% โดยสถิติระบุว่าซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ 7