ลดรอยเท้าจากปาล์มน้ำมัน ด้วยการผลิตและบริโภคอย่างรับผิดชอบ
หากเอ่ยถึง ‘น้ำมันปาล์ม’ เชื่อว่าหลายคนคงคุ้นหูอยู่บ้าง เพราะเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์มากมายหลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเรา กว่าครึ่งของอาหารที่วางขายในซุปเปอร์มาร์เก็ตต่างก็มีส่วนประกอบของน้ำมันปาล์มที่นอกจากจะถูกนำมาใช้ในการผลิตภัณฑ์อาหาร ขนมขบเคี้ยว รวมถึงไอศกรีมที่เราชื่นชอบแล้ว น้ำมันปาล์มยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในผลิตภัณฑ์ที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น สบู่ แชมพู น้ำยาทำความสะอาด และลิปสติก จนกล่าวได้ว่าน้ำมันปาล์มเป็นน้ำมันพืชที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกก็ว่าได้
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา น้ำมันปาล์มเป็นหนึ่งในวัตถุดิบที่เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างมากว่าเป็นภัยคุมคามต่อป่าฝนเขตร้อนที่มีความหลากหลายทางชีวภาพที่สมบูรณ์ทั้งพืชและสัตว์โดยเฉพาะประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย ป่าฝนในบริเวณนี้ทำหน้าที่กักเก็บก๊าซเรือนกระจกไว้ในดิน และยังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์หายากหลายชนิด เช่น อุรังอุตัง แรด เสือโคร่ง และช้าง การทำลายป่าเพื่อปลูกปาล์มน้ำมันนอกจากซ้ำเติมภาวะโลกร้อนแล้วยังเป็นภัยคุกคามต่อระบบนิเวศที่ประเมินค่าไม่ได้ นอกจากนี้การเผาป่าพรุเพื่อนำที่ดินไปปลูกปาล์มน้ำมันยังเป็นที่มาของปัญหาหมอกควันในภูมิภาคและปรากฎเป็นข้อพิพาทกับสิงคโปร์อีกด้วย ด้วยเหตุนี้ การถางป่าเพื่อปลูกต้นปาล์ม ทำให้เกิดกระแสต่อต้านและการรณรงค์ให้เลิกใช้น้ำมันปาล์มขึ้นอย่างแพร่หลาย
แน่นอนว่า เมื่อประชากรและความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น ความต้องการน้ำมันปาล์มก็เพิ่มขึ้นไปด้วย คำถามคือ…เพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเราจำเป็นต้องเลิกบริโภคน้ำมันปาล์มเลยหรือ ‘เป็นไปได้’ หรือไม่ที่เราจะผลิตและบริโภคน้ำมันปาล์มควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
RSPO มาตรฐานปาล์มน้ำมันยั่งยืน
ปัจจุบัน เรามีมาตรฐานรับรองน้ำมันปาล์มที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ ไม่บุกรุกหรือทำลายผืนป่า พื้นที่เพาะปลูกปาล์มที่ผ่านการรับรองมาตรฐานขององค์กรเจรจาระหว่างประเทศด้านปาล์มน้ำมันยั่งยืน หรือ Roundtable on Sustainable Palm Oil (RSPO) เป็นตราประทับยืนยันว่าน้ำมันปาล์มนั้นไม่รบกวนระบบนิเวศที่เปราะบางหรือป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญ (เช่น ป่าที่เป็นที่อยู่อาศัยของชนิดพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์) ปลูกในที่ดินมีเอกสารสิทธิรับรอง นอกจากนี้ เกณฑ์การพิจารณาของ RSPO ยังกำหนดให้เกษตรกรเจ้าของสวนปาล์มจะต้องดำเนินมาตรการเพื่อปกป้องแหล่งน้ำ ดิน และสภาพแวดล้อม ใช้สารเคมีในปริมาณที่เหมาะสมและห้ามการเผาไม่ว่าจะกรณีใดก็ตาม มิติด้านสังคมรวมถึงประเด็นสิทธิมนุษยชนก็อยู่ในข้อกำหนดของ RSPO
ภารกิจฟื้นฟูมหาสมุทรของแหล่งเรียนรู้เรือหลวงไทย
ตัวอย่างการฟื้นฟูและปกป้องระบบนิเวศทางทะเลด้วยการสร้างแหล่งดำน้ำใหม่ในโครงการแหล่งเรียนรู้เรือหลวงไทยใต้ทะเล เป็นความสำเร็จอันเกิดจากความร่วมมือของหลายภาคส่วนที่พิสูจน์แล้วว่า ช่วยปกป้องแนวปะการังธรรมชาติ เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ สร้างรายได้ให้การท่องเที่ยวในจังหวัดชุมพรและสุราษฏร์ธานี ผ่านนักท่องเที่ยวและนักดำน้ำปีละเกือบ 3 หมื่นคน สร้างรายได้ปีละเกือบ 60 ล้านบาท และลดการสัมผัสปะการังได้ถึง 16 ล้านครั้ง แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แห่งนี้เป็นอีกหนึ่งบทพิสูจน์ที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามของมนุษย์ในการกอบกู้ฟื้นคืนความอุดมสมบูรณ์ให้กับมหาสมุทรได้อย่างเป็นรูปธรรม
การฟื้นฟูระบบนิเวศด้วยการสร้างแหล่งดำน้ำโดยมนุษย์
มหาสมุทรครอบคลุมพื้นที่ผิวของโลกราวร้อยละ 70 และกักเก็บน้ำมากถึงร้อยละ 96.5 ของโลก จึงไม่น่าแปลกใจที่มหาสมุทรคือกลไกควบคุมสมดุลของสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศที่ค้ำจุนชีวิตบนโลกอย่างแท้จริง ผ่านวัฏจักรของน้ำ กระแสคลื่นลมที่ไหลเวียนไปทั่วโลก รวมทั้งสิ่งมีชีวิตที่ทำหน้าที่เหมือนปั๊มน้ำชีวภาพขนาดยักษ์อย่างวาฬ และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กจิ๋วอย่างแพลงก์ตอนพืชที่ทำให้มหาสมุทรเป็นแหล่งผลิตออกซิเจนราวครึ่งหนึ่งของอากาศที่เราทุกคนหายใจ ช่วยดูดซับความร้อนกว่าร้อยละ 90 เนื่องจากก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมมนุษย์ และยังกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ราว 1 ใน 4
CO2 – Climate Change – Catastrophe เมื่อคาร์บอนฯ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจนไปสู่จุดหายนะของท้องทะเลไทย
เมื่อ ‘ทะเลไทย’ อาจกลายเป็น ‘ออนเซ็น’ ขนาดใหญ่ที่มีอุณหภูมิสูงถึง 38 องศาเซลเซียส! ชวนรู้ความสัมพันธ์ที่เกี่ยวโยงกันระหว่างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ภาวะโลกร้อน และปรากฏการณ์ Marine Heat Wave ที่เกิดขึ้นแล้วกับทะเลไทย และผลของมันโหดร้ายกว่าที่คิด
ลึกลงไปใต้ท้องทะเล คลื่นน้ำกำลังเคลื่อนไหวแทรกผ่านร่างช่างภาพหนุ่ม ซึ่งกำลังตั้งใจจดจ่ออยู่กับการลั่นปุ่มชัตเตอร์ของกล้องในมือในจังหวะที่ดีที่สุด เพื่อให้ได้ภาพถ่ายใต้ทะเลที่สะท้อนเรื่องราวของปัญหา ‘ปะการังฟอกขาว’ ซึ่งเป็นผลจากภาวะโลกร้อนออกมาให้ได้ชัดเจนและครบถ้วนที่สุด
ชิน – ศิรชัย อรุณรักษ์ติชัย ช่างภาพสารคดีด้านสิ่งแวดล้อม ที่ทำงานด้านนี้มานานกว่า 14 ปี ทำให้เขาเป็นหนึ่งในผู้สังเกตการณ์ ‘ท้องทะเลไทย’ ที่สามารถบอกเล่าเรื่องปัญหาสภาวะโลกร้อนใต้ทะเลอย่างตรงไปตรงมาและเชื่อถือได้ที่สุดคนหนึ่ง
ชินเล่าว่าเขาผูกพันกับทะเลมาตั้งแต่เด็ก ที่บ้านจะมีหนังสือเกี่ยวกับทะเลเยอะ จึงโตมากับภาพทะเลจากหนังสือเหล่านั้น อีกทั้งครอบครัวชอบพาเขาไปเที่ยวทะเลบ่อยๆ ยิ่งได้ลองดำน้ำชมโลกใต้น้ำ เห็นความตระการตาของโลกอีกใบ ก็ยิ่งทำให้หนุ่มคนนี้หลงรักทะเลไทยมากขึ้นไปอีก และกลายเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อเขาจนถึงทุกวันนี้ แต่ทะเลที่เขาเคยชื่นชมความงามในวัยเด็ก กลับแตกต่างจากทะเลในวันที่เขาโตเป็นผู้ใหญ่อย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะเมื่อย้อนกลับไปในปี 2010 เหตุการณ์ที่รบกวนจิตใจคนรักทะเลอย่างเขา คงหนีไม่พ้นปัญหาปะการังฟอกขาวในครั้งนั้น
“มันเป็นเหตุการณ์ปะการังฟอกขาวครั้งใหญ่ ส่งผลกระทบต่อทะเลแถบเอเชียแปซิฟิกหนักมาก เนื่องจากปะการัง เป็นสัตว์ที่ต้องพึ่งพาอาศัยสาหร่ายชนิดหนึ่ง โดยสาหร่ายจะให้พลังงานและสร้างสีสันต่างๆ ให้ปะการัง ส่วนปะการังก็ให้แร่ธาตุที่จำเป็นแก่สาหร่าย แต่ช่วงนั้นอากาศร้อนติดต่อกันนานมาก พออุณหภูมิของน้ำทะเลสูงขึ้น ก็ทำให้สาหร่ายอยู่ไม่ได้และหลุดออกมาจากตัวปะการังเพื่อหาที่อยู่อื่น ทำให้ปะการังกลายเป็นสีขาวและตายไปในที่สุด” ชินเล่าสะท้อนภาพ ที่เขาเห็นมากับตาให้เราฟัง
คาร์บอนไดออกไซด์เร่ง “ภาวะโลกร้อน” ที่กำลังทำลายโลกใต้ทะเล
แน่นอนว่าเหตุการณ์นี้มีผู้ร้ายที่ต้องโทษก็คือ “ภาวะโลกร้อน” หลายคนอาจคิดว่าอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น ส่งผลกระทบแค่สิ่งแวดล้อมบนบกเท่านั้น แต่รู้หรือไม่? ผลจากภาวะโลกร้อนก็ส่งต่อความโหดร้ายไปยังโลกใต้ทะเลด้วย และสิ่งที่ถือเป็นปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนก็คือ “ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์”
อย่างที่หลายคนทราบกันดีว่า ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกี่ยวข้องกับปัญหาโลกร้อนโดยตรง แต่ทำไมมันถึงทำให้โลกของเราร้อนขึ้นได้ล่ะ? แล้วก๊าซเหล่านี้มาจากไหน? เรื่องนี้ ช่างภาพใต้น้ำผู้ซึ่งคลุกคลีอยู่กับประเด็น Climate Change มายาวนาน อธิบายว่า ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถูกปล่อยมาจากการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์ในทุกๆ กิจกรรม คุณสมบัติของมันคือเป็นก๊าซที่ดูดซับความร้อนได้เยอะมาก เมื่อก๊าซชนิดนี้ไปสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศก็ทำให้ความร้อนถูกดึงไปสะสมไว้บนชั้นบรรยากาศด้วย จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน อย่างที่เราประสบพบเจอกันอยู่ทุกวันนี้
“ตอนนี้ก๊าซคาร์บอนฯ สะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศปริมาณมหาศาลมาก และมันใกล้จะถึงจุดที่ระบบต่างๆ บนโลกจะรับความร้อนนั้นต่อไปไม่ไหวแล้ว อุณหภูมิโลกจะยิ่งทวีความร้อนมากขึ้นไปกว่านี้อีก ซึ่งไม่ใช่แค่ส่งผลกระทบต่อโลกบนบก แต่ยังส่งผลกระทบต่อโลกใต้น้ำด้วย ไม่ว่าจะเป็นการไหลเวียนกระแสน้ำในมหาสมุทรที่ผิดเพี้ยนแปรปรวนอย่างมาก จนกระทบต่อระบบนิเวศน์ใต้ทะเล รวมไปถึงภาวะที่น้ำทะเลกลายสภาพเป็นกรด เนื่องจากดูดซับเอาคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นในบรรยากาศ เมื่อน้ำทะเลเป็นกรดก็จะกัดกร่อนปะการัง และทำให้สัตว์เปลือกแข็งต่างๆ ไม่สามารถสร้างกระดองของพวกมันได้ อัตราการตายของสัตว์ทะเลจะเพิ่มขึ้น” เขาย้ำให้เห็นถึงความรุนแรงของภาวะโลกร้อนที่ส่งผลต่อโลกใต้ทะเล
ปัญหาโลกร้อนเกิดขึ้นแล้ว และอาจหยุดไม่ได้!
เรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาเล็กๆ ที่จะมัวรอช้าโดยไม่ทำอะไรได้อีกแล้ว ยืนยันอีกเสียงจาก ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลชั้นแนวหน้าของไทย ให้ข้อมูลว่านักวิทยาศาสตร์มีข้อบ่งชี้หลายอย่างที่ระบุว่า ทะเลของโลกเรา (ไม่ใช่เฉพาะในไทย) จะทรุดโทรมลงกลายเป็นทะเลที่โศกเศร้า จนถึงขณะนี้ บางคนก็ยังไม่ตระหนักว่าการขาดความรับผิดชอบเล็กๆ น้อยๆ นั้น เมื่อรวมกันทั้งโลกมันกลายเป็นผลกระทบที่ยิ่งใหญ่
“คนเราไม่ได้เริ่มปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นี้เมื่อ 5
นวัตกรรมความยั่งยืนของเอปสัน: จากการเป็นผู้บุกเบิกเลิกใช้สาร CFC สู่เทคโนโลยีการพิมพ์ไร้ความร้อน
นวัตกรรมความยั่งยืนของเอปสัน:
จากการเป็นผู้บุกเบิกเลิกใช้สาร CFC สู่เทคโนโลยีการพิมพ์ไร้ความร้อน
ประหยัดไฟฟ้าและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึง 85% จนกลายเป็นหนึ่งในองค์กรชั้นนำด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
เมื่อผู้บริโภคเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมควบคู่กับคุณภาพและราคาสินค้า ขณะที่ประชาคมโลกเองก็เรียกร้องให้ภาคธุรกิจแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น เราจึงเห็นบริษัทหลายแห่งนำแนวทางความยั่งยืนมาเป็นหัวใจในการขับเคลื่อนธุรกิจของตนเอง
เอปสันผู้ผลิตเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์และโปรเจคเตอร์อันดับหนึ่งของโลกจากญี่ปุ่น เป็นอีกหนึ่งบริษัทชั้นนำที่ให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการดำเนินธุรกิจนับตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งบริษัทในทศวรรษ 1940
เอปสัน เริ่มต้นจากการเป็นโรงงานผลิตนาฬิกาข้อมือ ก่อนจะขยายธุรกิจไปยังหลากหลายสายเทคโนโลยีและมีสำนักงานสาขากระจายอยู่ทั่วโลกเหมือนทุกวันนี้ ตลอดระยะเวลากว่า 80 ปี เอปสันเติบโตไปพร้อมๆ กับนโยบายด้านความยั่งยืนที่เข้มข้นขึ้น โดยเริ่มต้นจากความพยายามรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมรอบทะเลสาบซูวะ ในจังหวัดนากาโน่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัทฯ ให้สะอาดและมีนิเวศที่สมบูรณ์ ก่อนจะเติบโตขึ้นและกลายเป็นบริษัทแรกของโลกที่ประกาศว่าจะกำจัดสารซีเอฟซีที่ทำลายชั้นโอโซนออกจากกระบวนการผลิตทั้งหมด ซึ่งบริษัทฯ ประสบความสำเร็จในปี 1993
ในปี 2004 Epson ได้เข้าร่วมข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global
แก้ปัญหาถุงพลาสติกล้นโลกด้วยเงิน 2 บาท
งานวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร Science เมื่อปีแล้วระบุว่าทุกปีมีขยะพลาสติกเกิดขึ้นราว 275 ล้านตันและไหลลงสู่ทะเลมากถึง 8 ล้านตัน ขยะเหล่านี้ย่อยสลายยากและหมุนเวียนอยู่ในทะเลหลายร้อยปี
นักวิทยาศาสตร์พบว่ามีนกทะเลกว่าร้อยชนิดและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลกว่า 30 ชนิดกินพลาสติกจนเป็นอันตรายถึงชีวิต โครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ (UNEP) ประเมินว่าแต่ละปี ขยะพลาสติกสร้างความเสียหายให้กับระบบนิเวศทางทะเลทั่วโลกถึงปีละ 2.8 แสนล้านบาท
การแก้ปัญหาขยะพลาสติกจึงกลายเป็นวาระระดับโลก UNEP เองก็เพิ่งเปิดตัวการรณรงค์เพื่อแก้ปัญหาขยะพลาสติก #CleanSeas ที่งาน World